วันที่ 1 ตุลาคม 2546 คณะอนุกรรมการสถาบันประจำมหาวิทยาลัย
(อ.ก.ม.) เห็นชอบให้จัดตั้ง คณะใหม่ คือคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ (ชื่อเดิมของคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร) โดยแยกออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เดิม
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและจิตบริการ
จุดเด่นของหลักสูตร
เน้นการสร้างนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมด้วยองค์ความรู้เชิงลึกในแนวคิดและทฤษฎีทางการท่องเที่ยว จิตบริการและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยนำการวิจัยสังคมศาสตร์ขั้นสูงมาประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรมบริการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงจากภูมิทัศน์การแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับสากล
รายวิชาที่น่าสนใจ
1. สัมมนาประเด็นร่วมสมัยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและจิตบริการนานาชาติ
2. สัมมนาวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการท่องเที่ยวและจิตบริการ
3. สัมมนาวิธีวิจัยเชิงปริมาณและสถิติขั้นสูงสำหรับการท่องเที่ยวและจิตบริการ
4. ปรัชญาและทฤษฎีการท่องเที่ยวและจิตบริการขั้นสูง
5. มิติทัศน์ผู้นำด้านการท่องเที่ยวและจิตบริการ
รูปแบบการจัดการศึกษา
1. เน้นทำวิทยานิพนธ์ (แบบ 1.1)
- รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 6 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต
2. เน้นเรียน Coursework และทำวิทยานิพนธ์ (แบบ 2.1)
- รายวิชาบังคับ จำนวน 6 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือก จำนวน 6 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 6 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต
คุณสมบัติเฉพาะหลักสูตร
1. แนบโครงร่างงานวิจัยพร้อมกับใบสมัคร
2. แบบผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
แผนการเรียน | จำนวนรับนิสิต (คน) | |
---|---|---|
ภาคเรียนต้น | ภาคเรียนปลาย | |
แบบ 1.1 (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) | 5 | 5 |
แบบ 2.1 (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) | 5 | 5 |
ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร | ชั้นปีที่ 1 | ชั้นปีที่ 2 | การลงทะเบียนภาคเรียนฤดูร้อน และ หรือไม่สำเร็จการศึกษาและมีรายวิชาที่ต้องลงทะเบียน/ภาคเรียนละ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาคเรียนต้น (1) | ภาคเรียนปลาย (2) | ภาคเรียนฤดูร้อน (3) | ภาคเรียนต้น (1) | ภาคเรียนปลาย (2) | ภาคเรียนฤดูร้อน (3) | ||
แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 | |||||||
500,000 | 85,000 | 85,000 | 85,000 | 85,000 | 80,000 | 80,000 | 10,500 |